วันเสาร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2557

แรง หมายถึง สิ่งที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนตำแหน่งได้ เช่น ทำให้วัตถุที่อยู่นิ่งเคลื่อนที่ไป หรือทำให้วัตถุที่เคลื่อนที่อยู่แล้วเคลื่อนที่เร็วหรือช้าลง น้องๆ เคยสังเกตหรือไม่ว่า เมื่อเราดันหรือดึงประตู หรือหน้าต่าง หรือแม้แต่ยกหนังสือ ยกกระเป๋า เข็นรถ ทำไมประตูหน้าต่างถึงเปิดปิดได้ ทำไมหนังสือหรือกระเป๋าจึงถูกยกขึ้น ทำไมรถยนต์หรือรถเข็นจึงเคลื่อนที่ได้ และสิ่งที่ทำให้วัตถุต่างๆ ที่กล่าวมานี้เคลื่อนที่ได้ เราเรียกว่า แรง แรงมีหลายชนิด เรามารู้จักชนิดของแรงกันต่อ 1. แรงย่อย หมายถึง แรงที่เป็นส่วนประกอบของแรงหลายๆ แรง เช่น การเล่นชักเย่อ แยกเป็นสองฝ่าย ถ้าจำนวนคนเท่ากัน ถ้าสองฝ่ายออกแรงเท่ากัน จะไม่มีฝ่ายใดชนะ แต่ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดออกแรงมากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายที่ออกแรงมากกว่า จะชนะทันที 2. แรงลัพธ์ หมายถึง ผลรวมของแรงย่อยทั้งหมด หรือ ผลรวมแรงย่อยสุดท้าย เช่น ในภาพเล่นชักเย่อ ฝ่ายซ้ายมือเป็นฝ่ายชนะ เพราะผลของแรงลัพธ์มีมากว่า 3. ถ้ามีเพียงแรงเดียวก็จะแสดงตัวเป็นทั้งแรงย่อยและแรงลัพธ์ไปในตัว ผลของแรงลัพธ์ที่มีค่าเป็นศูนย์ จะทำให้สิ่งต่างๆ หยุดนิ่งอยู่กับที่ เช่น ภาพการออกแรงผลักวัตถุสองข้างด้วยแรงที่เท่ากัน 4. 5. แรงดึง คือ แรงที่กระทำต่อวัตถุที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่เข้ามาหาตัวเรา เช่น เราดึงแขนคุณแม่มาหาเรา เราลากเก้าอี้ เราดึงผ้าจากราวตากผ้า คนเล่นชักเย่อ เด็กลากรถ เราลากควาย เป็นต้น 6. 7. แรงผลัก คือ แรงที่กระทำต่อวัตถุที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ออกจากตัวเรา เช่น การผลักหน้าต่าง ผลักประตู เตะฟุตบอล เข็นรถ ตีลูกเทนนิส เป็นต้น การใช้แรงผลักสิ่งที่นิ่งอยู่กับที่กับสิ่งที่กำลังเคลื่อนที่อยู่ก็ต่างกัน เช่น เมื่อเตะฟุตบอลที่กำลังกลิ้งไปข้างหน้าอยู่แล้ว เราเตะต่อก็จะใช้แรงน้อยกว่าเตะฟุตบอลที่อยู่นิ่ง ส่วนบอลที่กำลังกลิ้งสวนทางมาหาตัวเรา เราต้องใช้แรงผลักหรือเตะมากขึ้น ดังนั้น ถ้าเราใช้แรงผลักกับวัตถุที่เคลื่อนที่ไปทางเดียวกันกับตัวเราจะใช้แรงน้อยกว่าผลักวัตถุที่เคลื่อนที่สวนทางกับเราหรือ วิ่งมาหาเรา แรงทำให้วัตถุเปลี่ยนแปลงรูปร่างอย่างไร น้องๆ รู้จักแล้วว่า แรงคืออะไร ต่อไปเรามาดูกันว่า แรงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง ผลของการออกแรงไม่ใช่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ได้หรือหยุดเคลื่อนที่เท่านั้น แต่แรงยังมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของวัตถุด้วย เช่น กระดาษที่ถูกขยำ จะยับยู่ยี่ไม่เรียบ เมื่อเราออกแรงบีบหรือปั้น ดินเหนียว ดินน้ำมันให้มีรูปร่างตามต้องการ จะเห็นว่า ดินมีรูปร่างเปลี่ยนแปลงไป รูปร่างจะไม่กลับมาอยู่ในสภาพเดิม วัตถุบางชนิดเมื่อออกแรงกระทำแล้วรูปร่างของวัตถุจะเปลี่ยนแปลงชั่วคราว และจะกลับคืนเหมือนเดิม เช่น ฟองน้ำ ยางรัดของ สปริง ลูกโป่ง เป็นต้น ดังนั้นเราจึงสรุปเรื่อง แรงได้ดังนี้ 1. แรง คือ สิ่งที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ 2. แรงลัพธ์ คือ ผลรวมของแรงย่อยทั้งหมด ถ้าผลรวมของแรงย่อยเป็นศูนย์วัตถุจะไม่เคลื่อนที่ 3. แรงดึง คือ แรงที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่เข้ามาหาตัวเรา 4. แรงผลัก คือ แรงที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ออกจากตัวเรา 5. แรงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง คือ หลังจากออกแรงแล้ว เกิดการเคลื่อนที่และเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง 6. แรงผลักกับวัตถุเคลื่อนที่ไปทางเดียวกันจะใช้แรงน้อยกว่าแรงที่วัตถุเคลื่อนที่สวนทางหรือวิ่งเข้าหา ที่มาข้อมูล : หนังสือแบบเรียนวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ 2544 คู่มือครูสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ 2544

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น