วันเสาร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2557

เนื้อหาหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้น ป. 1

เนื้อหาหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้น ป. 1 เนื้อหาหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้น ป. 1 สาระการเรียนรู้ ป. 1 ( เล่ม 1 ) สาระการเรียนรู้ ป. 1 ( เล่ม 2 ) บทที่ 1. ยามเช้าในสวน - รอบตัวเรามีอะไรบ้าง - ในดินมีอะไรบ้าง - ดินมีลักษณะอย่างไร - ดินมีประโยชน์อย่างไร บทที่ 2. เพื่อนรักของเรา - สิ่งมีชีวิตในท้องถิ่นอาศัยอยู่ที่ไหน - พืช สัตว์ มีรูปร่างลักษณะอย่างไร - จัดกลุ่ม พืช สัตว์ ในท้องถิ่นได้อย่างไร - พืช สัตว์ ในท้องถิ่นมีความสำคัญและมีประโยชน์อย่างไร บทที่ 3. ตัวเรา - ร่างกายของเราเป็นอย่างไร บทที่ 4. เรารักของเล่นของใช้ - รอบตัวเรามีของเล่นของใช้อะไรบ้าง - ของเล่นของใช้ทำจากอะไร - มาออกแรงกันเถอะ บทที่ 5. ท้องฟ้าแสนสวย - ท้องฟ้าของเรา - ดวงอาทิตย์ขึ้นและตกทางไหน - ดวงอาทิตย์มีประโยชน์อย่างไร
แรง หมายถึง สิ่งที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนตำแหน่งได้ เช่น ทำให้วัตถุที่อยู่นิ่งเคลื่อนที่ไป หรือทำให้วัตถุที่เคลื่อนที่อยู่แล้วเคลื่อนที่เร็วหรือช้าลง น้องๆ เคยสังเกตหรือไม่ว่า เมื่อเราดันหรือดึงประตู หรือหน้าต่าง หรือแม้แต่ยกหนังสือ ยกกระเป๋า เข็นรถ ทำไมประตูหน้าต่างถึงเปิดปิดได้ ทำไมหนังสือหรือกระเป๋าจึงถูกยกขึ้น ทำไมรถยนต์หรือรถเข็นจึงเคลื่อนที่ได้ และสิ่งที่ทำให้วัตถุต่างๆ ที่กล่าวมานี้เคลื่อนที่ได้ เราเรียกว่า แรง แรงมีหลายชนิด เรามารู้จักชนิดของแรงกันต่อ 1. แรงย่อย หมายถึง แรงที่เป็นส่วนประกอบของแรงหลายๆ แรง เช่น การเล่นชักเย่อ แยกเป็นสองฝ่าย ถ้าจำนวนคนเท่ากัน ถ้าสองฝ่ายออกแรงเท่ากัน จะไม่มีฝ่ายใดชนะ แต่ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดออกแรงมากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายที่ออกแรงมากกว่า จะชนะทันที 2. แรงลัพธ์ หมายถึง ผลรวมของแรงย่อยทั้งหมด หรือ ผลรวมแรงย่อยสุดท้าย เช่น ในภาพเล่นชักเย่อ ฝ่ายซ้ายมือเป็นฝ่ายชนะ เพราะผลของแรงลัพธ์มีมากว่า 3. ถ้ามีเพียงแรงเดียวก็จะแสดงตัวเป็นทั้งแรงย่อยและแรงลัพธ์ไปในตัว ผลของแรงลัพธ์ที่มีค่าเป็นศูนย์ จะทำให้สิ่งต่างๆ หยุดนิ่งอยู่กับที่ เช่น ภาพการออกแรงผลักวัตถุสองข้างด้วยแรงที่เท่ากัน 4. 5. แรงดึง คือ แรงที่กระทำต่อวัตถุที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่เข้ามาหาตัวเรา เช่น เราดึงแขนคุณแม่มาหาเรา เราลากเก้าอี้ เราดึงผ้าจากราวตากผ้า คนเล่นชักเย่อ เด็กลากรถ เราลากควาย เป็นต้น 6. 7. แรงผลัก คือ แรงที่กระทำต่อวัตถุที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ออกจากตัวเรา เช่น การผลักหน้าต่าง ผลักประตู เตะฟุตบอล เข็นรถ ตีลูกเทนนิส เป็นต้น การใช้แรงผลักสิ่งที่นิ่งอยู่กับที่กับสิ่งที่กำลังเคลื่อนที่อยู่ก็ต่างกัน เช่น เมื่อเตะฟุตบอลที่กำลังกลิ้งไปข้างหน้าอยู่แล้ว เราเตะต่อก็จะใช้แรงน้อยกว่าเตะฟุตบอลที่อยู่นิ่ง ส่วนบอลที่กำลังกลิ้งสวนทางมาหาตัวเรา เราต้องใช้แรงผลักหรือเตะมากขึ้น ดังนั้น ถ้าเราใช้แรงผลักกับวัตถุที่เคลื่อนที่ไปทางเดียวกันกับตัวเราจะใช้แรงน้อยกว่าผลักวัตถุที่เคลื่อนที่สวนทางกับเราหรือ วิ่งมาหาเรา แรงทำให้วัตถุเปลี่ยนแปลงรูปร่างอย่างไร น้องๆ รู้จักแล้วว่า แรงคืออะไร ต่อไปเรามาดูกันว่า แรงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง ผลของการออกแรงไม่ใช่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ได้หรือหยุดเคลื่อนที่เท่านั้น แต่แรงยังมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของวัตถุด้วย เช่น กระดาษที่ถูกขยำ จะยับยู่ยี่ไม่เรียบ เมื่อเราออกแรงบีบหรือปั้น ดินเหนียว ดินน้ำมันให้มีรูปร่างตามต้องการ จะเห็นว่า ดินมีรูปร่างเปลี่ยนแปลงไป รูปร่างจะไม่กลับมาอยู่ในสภาพเดิม วัตถุบางชนิดเมื่อออกแรงกระทำแล้วรูปร่างของวัตถุจะเปลี่ยนแปลงชั่วคราว และจะกลับคืนเหมือนเดิม เช่น ฟองน้ำ ยางรัดของ สปริง ลูกโป่ง เป็นต้น ดังนั้นเราจึงสรุปเรื่อง แรงได้ดังนี้ 1. แรง คือ สิ่งที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ 2. แรงลัพธ์ คือ ผลรวมของแรงย่อยทั้งหมด ถ้าผลรวมของแรงย่อยเป็นศูนย์วัตถุจะไม่เคลื่อนที่ 3. แรงดึง คือ แรงที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่เข้ามาหาตัวเรา 4. แรงผลัก คือ แรงที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ออกจากตัวเรา 5. แรงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง คือ หลังจากออกแรงแล้ว เกิดการเคลื่อนที่และเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง 6. แรงผลักกับวัตถุเคลื่อนที่ไปทางเดียวกันจะใช้แรงน้อยกว่าแรงที่วัตถุเคลื่อนที่สวนทางหรือวิ่งเข้าหา ที่มาข้อมูล : หนังสือแบบเรียนวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ 2544 คู่มือครูสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ 2544

รอบรู้เรื่องตัวเรา

รอบรู้เรื่องตัวเรา (อวัยวะภายนอก) อวัยวะของเราแต่ละอย่าง มีประโยชน์ต่อเรา ช่วยให้เราสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้ เช่น ตาช่วยมองเห็น หูช่วยให้เราได้ยินเสียงต่าง ๆ จมูกช่วยให้เราได้กลิ่น มือช่วยในการหยิบสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น เรามีชีวิตอยู่อย่างมีความสุข เพราะอวัยวะต่าง ๆ ของเราแข็งแรงสมบูรณ์พร้อมที่จะทำงานให้เสมอ อวัยวะต่าง ๆของเรานับตั้งแต่เส้นผมบนหนังศีรษะจนถึงปลายเท้าต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่ อยู่เสมอ ด้วยการทำความสะอาด และป้องกันอันตรายต่าง ๆ ที่อาจเกิดกับอวัยวะส่วนนั้น คนที่ร่างกายสะอาดจะเป็นคนที่น่ามอง คนพบเห็นก็อยากจะพูดคุยประการที่สะอาดย่อมไม่เป็นที่อยู่ของเชื้อโรคต่างๆ ผม เป็นส่วนที่อยู่บนสุดของร่างกาย เด็กผู้หญิงบางคนไว้ผมยาว บางคนไว้ผมสั้น แต่เด็ก ๆคตงรไว้ผมสั้นเพราะจะสะดวกต่อการดูแลรักษา ผมยาวจะสกปรกง่าย และอาจเป็นเหาได้ง่าย ผุ้ที่ไว้ผมยาวควรรวบผมไว้ข้างหลังให้เรียบร้อย เด็กผู้ชายจะมีรปัญหาเรื่องผมน้อยกว่าเด็กผู้หญิงเพราะผมสั้นอยู่แล้ว การทำความสะอาดและดูแลรักษาผม 1. ควรสระผมอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง 2. หลังสระผมทุกครั้งควรเช็ดผมให้แห้งและหวีเบา ๆ 3. ใช้หวีและแปรงที่ให้ต้องสะอาดอยู่เสมอ ผิวหนัง เป็นอวัยวะภายนอกที่ห่อหุ้มร่างกาย ผิวหนังต้องสัมผัสกับสิ่งสกปรกตลอดทั้งวัน เราจึงควรดูแลผิวหนังของเราดังนี้ การทำความสะอาดผิวหนัง 1. อาบน้ำถูสบู่ ชำระร่างกายให้สะอาด อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง คือ ตอนเช้า และตอนเย็น 2. เช็ดตัวให้แห้ง ทาแป้ง และเปลี่ยนเสื้อผ้าชุดใหม่ที่สะอาดทุกครั้ง 3. ควรออกกำลังกาย และให้ผิวหนังได้รับแสงแดดอ่อน ๆ ผิวหนังที่สะอาดทำให้เรารู้สึกสดชื่น ไม่มีกลิ่น และไม่เป็นโรคผิวหนัง ตา เป็นอวัยวะภายนอกที่สำคัญยิ่งของคนเรา เรามีตา 2 ตา ตาของเรามีหน้าที่ดูสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเราถ้าตาบอดเราจะทำทำงานต่าง ๆ ได้ลำบากขึ้น ตาเป็นอวัยวะที่สำคัญมา กังนั้นเรต้องดูแลรักษาตาอย่างทะนุถนอม การทำความสะอาดและระวังรักษาตา 1. เมื่อมีผลเข้าตา ควรลืมตาในน้ำสะอาด อย่าใช้นิ้วขยี้ตา 2. อ่านหนังสือในที่ ที่มีแสงสว่างเพียงพอ และเมื่ออ่านหนังสือนาน ๆ ควรหยุดพักสายตา โดยหลับตาสักครู่ หรือมองไปไกล ๆ 3. อย่าดูโทรศัพท์ใกล้จอภาพมากเกินไป ควรดูห่างประมาณ 12 ฟุต และภายในห้องควรมีแสงสว่างเพียงพอ 4. ไม่อ่านหนังสือบนรถ หรือในเรือที่กำลังแล่น หรือที่ที่มีแสงน้อย 5. อย่าใช้ผ้าเช็ดหน้าร่วมกับผู้อื่น 6. ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับตาควรไปพบแพทย์โดยด่วน หู เรามีหู 2 หู หูของเราใช้ฟังเสียงแต่การที่เราได้ยินเสียงดังมาก ๆ บ่อย ๆ หรือเกิดอุบัติเหตุบาง อย่างกับหู อาจทำให้หูตึงหรือหูหนวกได้ เมื่อหูหนวกแล้วเราจะไม่ได้ยินเสียงอะไรเลย เราต้องทะนุถนอมหูดังนี้ การทำความสะอาดและดูแลรักษาหู 1. เวลาอาบน้ำหรือสระผมควรระวังอย่าให้น้ำเขาหู 2. หลังอาบน้ำเสร็จ ควรใช้ผ้าเช็ดใบหูและกกหู 3. หลีกเลี่ยงการฟังเสียงที่ดังเกินไป 4. ไม่ตะโกนใส่หู ตบหู หรือแหย่รูหูกันเล่น 5. ไม่ควรแคะหูเอง ถ้ารู้สึกว่ามีขี้หูมาก หรือมีอะไรเข้าหูควรบอกผู้ใหญ่ 6. หลีกเลี่ยงการสั่งนำมูกแรง ๆ จมูก เรามีจมูกอยู่ 1 จมูก จมูกมีหน้าที่หายใจและรับกลิ่น เช่นกลิ่นหอมของดอกไม้ กลิ่นเหม็นของขยะ เป็นต้น เราต้องดูแลรักษาจมูกให้ดีอย่าให้เป็นอันตรายดังนี้ การทำความสะอาดและการระวังรักษาจมูก 1. ควรใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำหมาด ๆ เช็ดในรูจมูก ๆ เมื่อฝุ่นหรือน้ำมูกติดอยู่ 2. ไม่ควรอยู่ในที่ที่มีอากาศสกปรก หรือมีฝุ่นละอองมาก ๆ 3. ไม่ควรใช้นิ้วมือหรือวัตถุแข็ง ๆ แคะจมูกเพราะจะทำให้จมูกอักเสบและติดเชื้อโรคได้ง่าย 4. ไม่ควรสั่งน้ำมูกแรง ๆ เมื่อเป็นหวัด 5. ไม่ถอนขนจมูกทิ้ง หรือตัดให้สั้น เพราะจะทำให้ฝุ่นละอองและเชื้อโรคขู่ร่างกายได้ง่าย 6. ระวังไม่ให้จมูกได้รับการกระแทกอย่างแรง เพราะอาจทำให้เลือดกำเดาไหล 7. ไม่นำเมล็ดผลไม้หรือสิ่งต่าง ๆ ใส่ในจมูกเล่น เพราะอาจจะหลุดเข้าไปในรูจมูกและปิดทางเดินหายใจ อาจทำให้ถึงตายได้ 8. หากมีอาการผิดปกติที่จมูกควรรีบปรึกษาแทพย์ ปากและฟัน ปากเป็นอวัยวะที่มีหน้าที่เป็นช่องทางรับ อาหารเข้าสู่ร่างกาย ใช้สำหรับพูดคุย ภายในปากยังมีฟันมีหน้าที่บดเคี้ยวอาหาร และลิ้นที่ช่วยในการรับรส เช่น เปรี้ยว หวาน เค็ม ขม เป็นต้น ฟัน มีหน้าที่ฉีกอาหาร และบดเคี้ยวอาหารให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อกลืนเข้าไปในลำคอเข้าสู่ร่างกาย ฟันคนเรามี 2 ชุด คือ ฟันน้ำนมและฟันแท้ การทำความสะอาดและดูแลรักษาปากและฟัน 1. แปรงฟันทุกวันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง คือ ก่อนเข้านอน และหลังตื่นนอนตอนเช้า ทุกครั้งที่แปรงฟันจะต้องแปรงให้ถูกวิธี 2. หลังรับประทานอาหารควรแปรงฟัน หรือบ้วนปากด้วยน้ำสะอาดทุกครั้ง 3. อย่าใช้ไม้จิ้มฟัน แคะฟัน 4. ควรรับประทานผักผลไม้ที่มีกากใย เช่น แตงกว่า มะเขือเทศ ชมพู่ จะช่วยนวดเหงือกและฟัน 5. ไม่รับประทานอาหารพวกลูกอม (ท๊อฟฟี่) และอาหารที่มีรสหวานจัด เพราะอาจทำให้ฟันผุได้ 6. ควรไปตรวจสุขภาพฟันทุก ๆ 6 เดือน ขั้นตอนและการแปรงฟันที่ถูกต้อง 1. ฟันบน ใช้ขนแปรงปัดจากบนลงล่าง 2. ฟันล่าง ใช้ขนแปรงปัดจากล่างขึ้นบน 3. ฟันกราม ใช้ขนแปรงถูไปมา 4. ฟันหน้า ใช้ขนแปรงปัดจากบนลงล่าง นิ้วและนิ้วมือ เรามีมือ 2 ข้าง มือแต่ละข้างมี 5 นิ้ว เราใช้มือและนิ้วหยิบจับสิ่งของและทำงาน ดังนั้นมือและนิ้วมือจึงเป็นอวัยวะที่สกปรกได้ง่าย เราจึงควรล้างมือและนิ้วมือให้สะอาดอยู่เสมอ โดยเฉพาะก่อนหรือเตรียมอาหารและหลังรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ ห้องส้วม หลังจามหรือไอ หลังเล่นกับสัตว์เลี้ยง หรือกลับมาจากนอกบ้าน การทำความสะอาดรักษามือและนิ้วมือ 1. ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ ก่อนรับประทานอาหารและหลังจากเข้าห้องน้ำ 2. ไม่อมนิ้วมือเพระจะทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย 3. ควรตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ 4. ควรสามถุงมือเมื่อต้องสัมผัสกับสารเคมี เช่น ผงซักฟอก ยาย้อมผม น้ำยาล้างจาน เป็นต้น ขาและเท้า เรามีขาและเท้า 2 ข้าง เท้าแต่ละข้างมี 5 นิ้ว เท้าเป็นอวัยวะที่ต้องรับน้ำหนักของร่างกายขณะที่เคลื่อนไหว ไปไหนมาไหน เท้าจะสัมผัสสิ่งต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา จึงสกปรกง่านเราต้องหมั่นทำความสะอาดอยู่เสมอ ดังนี้ การทำความสะอาดและดูแลรักษาเท้า 1. ล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำสะอาดหลังจากเหยียบย่ำสิ่งสกปรก 2. ตัดเล็บเท้าให้สั้นอยู่เสมอ ถ้าไว้เล็กเท้าอาจจะเป็นที่สะสมของเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ง่าย 3. เมื่อล้างเท้าแล้วควรเช็ดให้แห้ง 4. สวมรองเท้าเพื่อป้องกันเชื้อโรคและอันตรายจากของมีคม และควรสมรองเท้าที่เหมาะกับเท้า ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

วันพุธที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2557

พืชใบเลี้ยงเดี่ยว

ลักษณะพืชใบเลี้ยงเดี่ยว มีใบเลี้ยงใบเดีี่ยว หมายถึงใบเลี้ยงตอนที่มันเป็นต้นกล้าเล็กๆ น่ะครับ ลักษณะเส้นใบเรียงกันแบบขนาน มันมีเส้นใยที่ไม่ได้กระจายเข้าหากันครับ มีระบบรากฝอย ลำต้นมองเห็นข้อปล้องชัดเจน ก็พวกต้นมะพร้าว ต้นปาล์มไงครับ ไม่มีการเจริญทางด้านข้าง บอกง่ายๆ ว่าไม่มีกิ่งครับ ยอดพุ่งขึ้นอย่างเดียว ส่วนประกอบของดอก เช่นกลีบดอก มีจำนวนเป็น 3 หรือทวีคูณของ 3 ตัวอย่างชื่อพืชใบเลี้ยงเดี่ยว 1. ข้าว 2. หญ้า 3. ไผ่ 4. วาสนา 5. หมาก 6. มะพร้าว 7. อ้อย 8. กล้วย 9. ธูปฤาษี 10. กก 11. ตาล 12. พลับพลึง 13. ว่านหางจระเข้ 14. ตะไคร้ 15. ต้นหอม 16. ข่า 17. ขิง 18. กระชาย 19. สับปะรด 20. พุทธรักษา